อานิสงส์ของการสวดพระพุทธคุณพาหุง

 


อานิสงส์ของการสวดพาหุง

คาถาแห่งชัยชนะ สวดทุกวัน เสริมความเป็นสิริมงคล

บทสวดพาหุง หรือ บทสวดพาหุงมหากา เป็นคำสวดขึ้นต้นของคาถาที่ชื่อว่า “พุทธชัยมงคลคาถา” จึงทำให้คนส่วนใหญ่เรียกคาถานี้ว่า บทสวดพาหุง ถือเป็นคาถาเก่าแก่ มีความยาว 8 บท ที่มีเนื้อหาสรรเสริญชัยชนะ 8 ประการอันเป็นมงคลของพระพุทธเจ้า ที่ทรงใช้ธรรมะอยู่เหนือมนุษย์และมารผจญทั้งปวง

 

เปิดประวัติ “บทสวดพาหุง” มีที่มาจากไหน?

 

ไม่มีหลักฐานระบุไว้อย่างชัดเจนว่าใครเป็นผู้แต่งบทสวดพาหุง แต่เชื่อว่าเป็นบทถวายพรพระ ที่ถูกแต่งขึ้นมาถวายกษัตริย์เมื่อต้องออกรบ เพื่อเสริมสิริมงคลให้ชนะศึกสงคราม สำหรับที่มาของบทสวดพาหุง พระธรรมสิงหบุราจารย์ หรือ “หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม” แห่งวัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี เป็นผู้นำมาเผยแพร่ ทำให้พุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสศรัทธานิยมสวดตามมาจนถึงปัจจุบัน

โดยหลวงพ่อจรัญได้นิมิตฝันถึง สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว แห่งกรุงศรีอยุธยา (ปัจจุบันก็คือ วัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา) ซึ่งท่านเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ท่านเป็นผู้แต่งคาถาบทดังกล่าว เพื่อถวายให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสวดระหว่างอยู่ในพระบรมราชวัง และในยามรบทัพจับศึก ทำให้ทรงได้รับชัยชนะกลับมาทุกครั้ง ซึ่งสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ได้บอกให้หลวงพ่อจรัญไปตามหาบทสวดพาหุงเพื่อนำมาเผยแพร่

หลวงพ่อจรัญ ได้เดินทางไปยังวัดใหญ่ชัยมงคล ซึ่งในขณะนั้นกรมศิลปากรกำลังบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ใหญ่ หลวงพ่อจรัญเห็นโพรงด้านล่างเจดีย์ จึงไต่บันไดลงไปเบื้องล่าง และพบใบลานทองคำจารึกของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ซึ่งมีคำจารึกบทสวดพาหุงดั่งที่นิมิตจริงๆ หลังจากนั้นหลวงพ่อจรัญก็ได้นำบทสวดดังกล่าวมาเผยแพร่ รู้จักกันในชื่อ “บทสวดพาหุงมหากา” หรือ “พุทธชัยมงคลคาถา”

 

ส่วนสาเหตุที่หลวงพ่อจรัญท่านไม่นำใบลานทองคำจารึกมาแสดงต่อสาธารณะ เนื่องจากเป็นความประสงค์ของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ซึ่งหลวงพ่อจรัญได้ให้คำมั่นสัญญาไว้แล้วนั่นเอง

อานิสงส์ของบทสวดพาหุงมหากา หลวงพ่อจรัญ

บทสวดพาหุง เป็นบทสวดที่ประเสริฐ เนื่องจากกล่าวถึงเหตุการณ์ชัยชนะสูงสุดของพระพุทธเจ้า ชัยชนะที่ไม่ได้ใช้พละกำลังหรือปาฏิหาริย์ แต่อยู่เหนือมารผจญทั้งหลาย โดยใช้ธรรมะและความอดทนอดกลั้น

เชื่อว่านอกจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จะทรงเคยสวดบทพาหุงแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) ก็ทรงเคยสวดระหว่างออกศึกสงครามเช่นเดียวกัน

อานิสงส์ของการสวดบทพาหุงจะทำให้ผู้ที่สวดเป็นประจำ เป็นผู้มีสติและสมาธิ จิตใจเข้มแข็ง ชีวิตราบรื่น ประสบความสำเร็จ มีชัยชนะเหนืออุปสรรคและผู้ปองร้าย ทำให้บางครั้งมีผู้เรียกบทสวดดังกล่าวว่า “บทสวดพาหุงชนะมาร” ซึ่งเปรียบเสมือนคาถาแห่งชัยชนะ

บทสวดพาหุง สวดทุกวัน เสริมความเป็นสิริมงคล

หลายคนนิยมท่องบทสวดพาหุงมหากาให้จบก่อน แล้วตามด้วยคาถาชินบัญชร บ้างก็สวดร่วมกับบทชัยปริตร (มหาการุณิโก) ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วจะกลายเป็นยอดคาถาแห่งความสิริมงคล เหมาะสำหรับการเจริญสติ สมาธิ สวดแล้วจิตใจผ่องใส มีสติตลอดเวลา โดยการสวดนี้ขึ้นอยู่กับความสบายใจ และความสะดวกของแต่ละบุคคล

หากยึดตามหลักการสวดของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม แห่งวัดอัมพวัน ท่านให้เริ่มต้นด้วยการบูชาพระรัตนตรัยก่อน แล้วตามด้วยตั้งนะโม 3 จบ, สวดไตรสรณคมน์, สวดบูชาพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ, บทสวดพาหุงมหากา, สวดอิติปิโส จำนวนเท่าอายุตนเอง บวกอีก 1 จบ (เช่น หากอายุ 29 ปี ก็ให้สวด 30 จบ) จบด้วยการแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศล โดยสามารถเรียงลำดับการสวด ได้ดังนี้

– ตั้งนะโม 3 จบ


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

– บทสวดไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

– บทสวดอิติปิโสฃ

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

– บทสวดพาหุงมหากา (พุทธชัยมงคลคาถา)

1. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

2. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

3. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

4. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

5. กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

6. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

7. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

8. ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

– แปลความหมายของบทสวดพาหุงมหากา


บทสวดพาหุง มีจำนวน 8 บท โดยแต่ละบทมีความหมายที่กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้าในเรื่องต่างๆ ดังนี้
บทที่ 1 ชัยชนะเหนือศัตรูหมู่มาก
บทที่ 2 ชัยชนะเหนือใจคนที่เป็นปฏิปักษ์
บทที่ 3 ชัยชนะเหนือสัตว์ร้าย และคู่ต่อสู้
บทที่ 4 ชัยชนะเหนือโจร
บทที่ 5 ชัยชนะเหนือการใส่ร้ายป้ายสี
บทที่ 6 ชัยชนะเหนือการโต้ตอบ
บทที่ 7 ชัยชนะเหนือเล่ห์เหลี่ยม
บทที่ 8 ชัยชนะเหนือทิฏฐิของมนุษย์

– บทสวดชัยปริตร (มหาการุณิโก)

มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา
ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง
นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ
พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ
จารีสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
มโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

หมายเหตุ : หากสวดให้ผู้อื่นใช้คำว่า “เต” (แปลว่า ท่าน) แต่หากสวดให้ตัวเองใช้คำว่า “เม” (แปลว่า ข้าพเจ้า)

– บทสวดอิติปิโส (สวดตามอายุ บวกเพิ่มอีก 1 จบ)

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชา จาระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัม มะสาระถิ สัตถาเทวะ มะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

– ตั้งจิตแผ่เมตตา และอุทิศส่วนกุศล

สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิดฯ

การภาวนาบทสวดพาหุงมหากา ก่อนนอนเป็นประจำทุกคืน จะช่วยให้มีสติปัญญา และจิตเป็นสมาธิ หรือหากใครไม่สะดวกสวดฉบับเต็มทั้งหมด ก็สามารถสวดเฉพาะบทสวดพาหุงแบบย่อ หรือแบบสั้น เพียงอย่างเดียวก็ได้ นอกจากนี้ยังมีผู้เลื่อมใสศรัทธาอีกจำนวนมากที่นิยมสวดบทสวดพาหุงมหากา 9 จบ เพราะเชื่อว่าเป็นการเจริญสติ และสร้างความเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิต.

Next Post Previous Post
No Comment
Add Comment
comment url